ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้น ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น

โรงเรือน หมายถึง บ้าน, ตึกแถว, อาคาร, ร้านค้า, สำนักงาน, บริษัท, ธนาคาร, โรงแรม, โรงภาพยนต์, โรงพยาบาล, โรงเรียน, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, หอพัก, สนามมวย, คลังสินค้า

สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำ น้ำมัน คานเรือ ซึ่งมีลักษณะ การก่อสร้างติดที่ดินเป็นการถาวร

ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน

เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ

1. สำเนาโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
2. สำเนาสัญญาเช่า
3. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
4. สำเนาใบเสร็จรับเงินปีสุดท้าย (ถ้ามี)
5. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอาการ (กรณีมอบอำนาจ)

การยื่นแบบประเมิน การชำระภาษีและการอุทธรณ์

1. เจ้าของทรัพย์สิน จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด. 2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ กองคลัง อบต.เวียงทอง
ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ มีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี

2. ผู้รับการประเมิน ต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (ภ.ร.ด.8)

3. ผู้รับประเมิน ได้รับแจ้งประเมินค่าภาษีแล้ว ไม่พอใจในการประเมินภาษี ให้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินภาษี (ภรด.8)

อัตราค่าภาษี และการประเมินภาษีโรงเรือน และที่ดิน

ผู้รับประเมิน จะต้องเสียค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

ค่ารายปี หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นๆ สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ

การชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน ให้เสียเงินเพิ่มดังนี้

1.ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง

2. ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง

3. ถ้าค้างชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง

4. ถ้าค้างชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง

5. ถ้าค้างชำระเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้ยึดอายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ซึ่งค้างชำระค่าภาษี โดยมิต้องให้ศาลสั่ง

การแจ้งบ้านว่าง หรือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

ให้แจ้งภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน ณ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ส่วนการคลัง


ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายอันหมายถึงป้าย แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียนแกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ

เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ

1.   สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
2.   สถานที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย
3.   หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)

การยื่นแบบประเมินการชำระภาษีป้าย

1. เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (กรณีติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ (ภ.ป.1) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่

2.  ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

3.  ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท ขึ้นไป จะขอผ่อนชำระเป็น 3 งวด งวดละเท่าๆ กันก็ได้

อัตราค่าภาษีป้าย

ป้ายประเภทที่ 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนปับตัวอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่นๆ ให้คิดอัีตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายประเภทที่ 3 (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพ หรือเครื่องหมายๆ หรือไม่
หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมด อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่า ป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

การอุทธรณ์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ได้รับแจ้งการประเมินแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด

1. ไม่ยื่นแบบภายในเดือนมีนาคม หรือ หลังติดป้าย 15 วัน ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี2. ยื่นแบบไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3. ผู้เป็นเจ้าของป้าย รายใด ไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี


ภาษีบำรุงท้องที่

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากที่ดิน ซึ่งหมายถึง พื้นที่ดิน พื้นที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย

เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ

1. หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น สำเนาโฉนด นส.3ก 2. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาใบเสร็จรับเงินปีสุดท้าย (ถ้ามี)
4. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)
5. สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขาย

ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่

ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.บ.ท.5) ณ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้กองคลัง อบต.เวียงทอง ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี

กรณีที่บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ จำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป ให้เจ้าของที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายใน 30 วัน นับจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินที่ได้ มีการเปลี่ยนแปลง

การลดหย่อนและการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่

1. ที่ดินแปลงที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์ จะได้รับการลดหย่อน 3 ไร่ ส่วนที่เดินต้องเสียภาษี2. ที่ดินเจ้าของปลูกบ้านให้เช่า หรือปลูกบ้านทำการค้า และได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่

การชำระภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะต้องชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี

การไม่ยื่นแบบและไ่ม่ชำระภาษีภายในกำหนด

1. ไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3. แจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
4. ชำระภาษีเกินกำหนด 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือน นับเป็นหนึ่งเดือน

ขอบคุณผู้ชำระภาษีท้องถิ่นทุกท่าน

ติดต่อชำระภาษีทุกครั้ง
กรุณานำบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย

หากท่านมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับการชำระภาษีให้กับ อบต.เวียงทอง

โปรดติดต่อสอบถามได้ที่

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ กองคลัง
โทร. 054-542886 ต่อ 102

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *